วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บันทึกพิเศษจาก ฅ.ฅนปลูกไผ่-5

25-29 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา บักเอี่ยวโฟกัสได้เดินทางกลับบ้านเพื่อไปทำธุระ และติดตามสวนไผ่ของตัวเอง ซึ่งช่วงนี้ก็เริ่มเข้าสู่หน้าฝนแล้วครับ บรรยากาศรอบๆ เส้นทางเข้าหมู่บ้านเริ่มเขียวสดชื่น เย็นสบายๆ


พอไปถึงบ้านก็รีบเดินทางไปสวนไผ่ซึ่งห่างจากหมู่บ้านประมาณ 5 กม. ทันที ซึ่งสภาพต้นไผ่เริ่มเปลี่ยนใบหลังจากปลูกแล้ว สีของใบไผ่เริ่มเป็นสีเขียวสดขึ้น บางต้นก็เริ่มแตกหน่อเล็กๆ ด้วย


ช่วงจะกลับบ้านมองเห็นหน่อไม้หวานที่พ่อปลูกไว้หลายปีแล้ว เริ่มแทงหน่อช่วงหน้าฝนน่ารับประทานมาก จึงจัดการนำมาทำเป็นอาหารตอนเย็นเลย ก็เอามาทำหน่อไม้ชุบแป้งทอด ทอดไข่หน่อไม้หวาน และผัดหน่อไม้ใส่น้ำมันหอย ขอบอกอร่อยมากๆ แถมมีห่อหมกปลาช่อน รวกผักจิ้มน้ำพริกพื้นบ้าน สวรรค์บ้านเราแท้ๆ


ช่วงตอนเย็นที่หมู่บ้านมีการทำบุญเสาหลักหมู่บ้าน ซึ่งจะทำกันทุกปี โดยจะทำช่วงตอนเย็นติดต่อกัน 3 วัน


ช่วงเช้าหลังคืนวันที่ 3 ก็จะมีการทำบุญตักบาตร ซึ่งชาวบ้านจะหุงข้าว และทำอาหารมารวมกัน และจัดทำกระทงมาครัวเรือนละ 1 กระทง โดยทำจากต้นกล้วยพร้อมกับใส่เครื่องเส้นไหว้ต่างๆ ตามที่สืบทอดกันมา บรรยากาศในเช้าวันนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น และเรียบง่าย ซึ่งชาวบ้านทุกคนมีแต่รอยยิ้มอันบริสุทธิ์ มีการทักทายกันไปมา ดูแล้วรู้สึกอบอุ่นดีครับ


รูปภาพบรรยากาศการนั่งฟังธรรมะ


รูปภาพบรรยากาศการทำบุญตักบาตร

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บันทึกพิเศษจาก ฅ.ฅนปลูกไผ่-4

สัมบายดีลำพูนครับ วันนี้อากาศร้อนมากๆ ไม่มีลมพัดด้วย ฮือ! คิดถึงห้องแอร์ออฟิตเก่าจริงๆ วันนี้เดินทางไปอำเภอลี้ เพื่อประชุมกับชาวบ้านเกี่ยวกับโครงการปลูกไผ่ปี 2553 จำนวน 2 หมู่บ้าน แปลกจริงๆ ช่วงเดินทางไปอำเภอลี้ ไม่เห็นภูเขาสักลูก เห็นแต่ดอยอย่างเดียว และชาวบ้านก็พูดภาษาไทยไม่ชัด แบบว่ามืนไปครึ่งวันเลยทีเดียว ก็เก็บภาพมาฝากด้วยนะ





พอกลับมาถึงที่พัก ก็เลยคิดอยากจะเล่าถึง Project ที่ไปทำช่วงสงกรานต์ที่ไร่ของตัวเอง (จังหวัดเลย) คือปลายเดือนนี้ผมได้สั่งซื้อกล้าไผ่ไปปลูกที่ไร่ จำนวน 1000 ต้น พื้นที่ 10 ไร่ ซึ่งการที่จะทำให้ไผ่เติบโตได้เร็ว ต้องมีการให้น้ำอยู่ตลอดเวลาด้วยระบบน้ำหยด ผมจึงต้องทำการ Set ระบบน้ำไว้ก่อน เมื่อกลับไปถึงที่บ้านพ่อบอกว่าเพื่อนบ้านเราได้นำระบบสูบน้ำโดยไม่ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานน้ำมัน ทำให้ผมสนใจมากๆ ก็เลยชวนพ่อไปดูกัน ก็ทึ่งในแนวความคิดจึงขอนำระบบดังกล่าวไปทำที่ไร่ตัวเอง มีรูปภาพมาฝากอีกครับ






ช่วงแรกก็พาทีมงานสร้างฝายแม้วขึ้นมาก่อน โดยใช้กระสอบทราย รู้จักใครก็ชวนมาช่วยให้หมด แม้กระทั่งน้องเขยคนล่าสุด


หลังจากนั้นก็สวมท่อเข้ากับฝายที่สร้างเสร็จใหม่ๆ


ทำการประกอบชุดตะบันน้ำ มีอุปกรณ์แค่เนี๊ย สามารถสูบน้ำขึ้นไปใช้ได้ ดูสิ น้ำไหลแรงมากทีเดียว จับเวลาแล้ว 24 ชั่วโมง สามารถเก็บน้ำได้ประมาณ 4 โอ่ง


หลังจากนั้นก็นำโอ่งมาติดตั้งตรงจุดสูงสุด ดูรูปพี่สองคนนำโอ่งลงได้อย่างง่ายดาย


ตอนนี้ติดตั้งไปก่อน 4 โอ่ง เพื่อทดสอบระบบน้ำไปก่อน ถ้า OK ก็จะสร้างแท้งน้ำถาวรไว้เลย แต่เมื่อต่อสายยางไปถึงโอ่ง แรงดันน้ำกลับ OK (ตกลง) เนื่องจากพื้นที่ตั้งโอ่งอยู่สูงเกินไป


หลังจากพักช่วงสงกรานต์ได้ 4 วัน (แข่งฟุตบอล 3 วัน พัก 1 วัน) ก็กลับมากรอกกระสอบทรายเพื่อสร้างฝายกั้นน้ำใหม่ ให้ใกล้กว่าเดิม และมีแรงดันน้ำให้มากว่าเดิมหลังจากกรอกคนเดียวเสร็จ (60 กระสอบ) วันต่อมาก็ขอร้องให้พ่อ (เสื้อสีแดง) ไปช่วยกั้นฝาย และพ่อก็ชวนเพื่อนแกไปช่วยด้วย


ไอ้หลานตัวแสบก็ไปด้วย เล่นน้ำอย่างเดียว เหนื่อยก็บ่นหาข้าวกิน รำคานมากๆ ก็เลยโยนกะปิ กับข้าวเหนียวให้ ดูมันหมั่มเยิ้ยอีกอยากมีลูกมาเตะมันจริงๆ แต่หาแม่พันธุ์ยังไม่ได้ (ตัวดำ ไม่มีใครมอง)


หลังจากนั้นก็ตามทีมงานมาติดตั้งระบบใหม่ เล่นมันสัก 2 กระบอกไปเลย แล้วใช้ข้อต่อ 3 ทางต่อท่อทางออกมารวมกัน ก่อนส่งไปยังโอ่งที่เตรียมไว้


การติดตั้งที่สมบูรณ์ พร้อมเดินเครื่อง


แรงดันน้ำกระบอกแรก


แรงดันน้ำกระบอกที่ 2 เป็นกระบอกเล็ก


ตอนนี้น้ำก็ไหลถึงโอ่งแล้ว แต่ยังไม่แรงพอ อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ และหาแนวทางปรับปรุง


เรื่องเล่าวันนี้ก็มีแค่นี้ครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้างนะครับ สำหรับปัญหาแรงดันน้ำที่ออกมาไม่แรงนั้น ทางทีมงานได้ทดสอบแล้วพบว่า แรงอัดทั้ง 2 กระบอกดันกันเกิดแรงต้านทั้ง 2 กระบอก ส่งผลทำให้แรงดันน้ำที่ออกมาต่ำ และปริมาณน้ำไหลออกจากปลายท่อน้อย ซึ่งตอนนี้ทางทีมงานได้ทำการถอดเครื่องตะบันน้ำออกหนึ่งตัว ผลที่ได้คือแรงดันน้ำเพิ่มขึ้น และปริมาณน้ำไหลออกจากปลายท่อมากเพิ่มขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องตะบันน้ำ (ไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า) หรือสนใจติดตั้งเครื่องตะบันน้ำ ติดต่อได้ที่ บักเอี่ยวโฟกัส โทร 086-6601769 ปล.ราคาติดตั้งแล้วแต่ความยากง่ายของสถานที่นั้นๆ ครับ

เรื่องเล่าวันนี้ก็มีแค่นี้ครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้างนะครับ ซึ่งตอนนี้ผมทำงานอยู่ลำพูน ช่วยทำข้อมูลเกี่ยวกับไผ่ร่วมกับ สปก. และเตรียมข้อมูลไปอบรมเกษตรกรปลายเดือนนี้ด้วย แต่งานที่บ้านก็โทรศัพท์ประสานงานอยู่ครับ ก็ขอตัวแว็ปไปพิมพ์งานต่อก่อนนะครับ


รักและคิดถึงทุกคนครับ

บักเอี่ยวโฟกัส
ฅ.ฅนอาสา & ฅ.ฅนปลูกไผ่

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บันทึกพิเศษจาก ฅ.ฅนปลูกไผ่-3

สัมบายดีลำพูนครับ
สงกรานต์ปีนี้เที่ยวสนุก และเดินทางปลอดภัยกันทุกคนนะครับ ช่วงที่ผ่านมานี้หายเงียบไปเลย (ไปเมืองเลยจริงๆ) คือกลับบ้านเพื่อเตรียมโครงการลงที่บ้าน ช่วงกลับไปอยู่บ้านก็ได้ไปเก็บภาพการนำมูลค้างคาว (ที่บ้านเรียกขี้อี่เกีย) ลงจากถ้ำเพื่อแจกให้ชาวบ้านกันครัวเรือนละ 4 กระสอบ เพราะใกล้จะถึงบุญบั้งไฟ แต่ชาวบ้านบางส่วนไม่มีตังค์ทำบุญ เนื่องจากทางคณะกรรมการหมู่บ้านมีการเก็บค่าทำบุญครอบครัวละ 500 บาทถ้วน ดังนั้นชาวบ้านจึงลงมติกันว่าให้เอามูลค้างคาวแจกชาวบ้าน ซึ่งบางคนก็เก็บไว้ทำปุ๋ยในไร่สวน บางคนก็นำไปขายเพื่อนำเงินมาออกค่าทำบุญ (กระสอบละ 1200 บาทถ้วน คิดเอามันยุติธรรมกับธรรมชาติหรือไม่ ตลกนะขายได้ 4800 บาทถ้วน แต่ออกค่าทำบุญแค่ 500 บาท) จากเรื่องที่เล่ามานี้ ผมรู้สึกแสลงใจจริงๆ กับการลงมติอย่างนี้ แต่ก็พูดไม่ได้เพราะมันเป็นมติส่วนใหญ่ ผมวางแผนว่าจะกลับมาพัฒนามูลค้างคาวให้มีมูลค่ามากกว่านี้ และสร้างอาชีพให้ชาวบ้านจากการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ฮือพูดไปก็ยิ่งเครียด เอาว่าเราไปดูรูปภาพบรรยากาศการนำมูลค้างคาวลงจากถ้ำดีกว่า



ต้องแบกลงบันไดถึง 550 ขั้น


บางคนช่วยตัวเอง บางคนก็ให้เพื่อนช่วย


วิธีเอาลงมีหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ความชอบ และความถนัดส่วนบุคคล


เหนื่อยก็พัก หายเหนื่อยก็แบกต่อไป


ลากลงไป แบกลงไป


แบกของตัวเองลงหมดแล้ว ก็รับจ้างแบกของคนอื่น (กระสอบละ 100 บาทถ้วนครับ)


เครื่องมือใหม่กำลังมาแรง สนใจติดต่อได้นะครับ (ไม่ต้องใช้ล้อด้วย ประหยัดอีก)


มันง่ายกว่าเข็นครกขึ้นภูเขาจริงๆ


แล้วจะเอาลงยังไงหมด มองหาเพื่อนไมเจอสักกะคน


และแล้วงานก็เข้าอีก ทางเยาวชนมาของบเพื่อไปแข่งขันฟุตบอลตำบล เราก็เลยไปคุยกับผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 หมู่ให้ เพื่อขอมูลค้างคาวไปขาย ซึ่งทางผู้ใหญ่บ้านตกลงกันให้สองกระสอบ เราก็ได้งบไปลุยศึกฟุตบอลตำบล มีภาพบรรยากาศมาให้ดูด้วย


ห้องแต่งตัวแอร์รอบทิศทาง


ยกกันมาเป็นคันรถ


แฟนบอลพันธุ์แท้ นอนรอแมตถัดไป


เป็นไง 7 ประจัญบาน แข่งวันแรกแมตเดียว วันที่สองแข่ง 3 แมต และวันสุดท้ายแข่ง 2 แมต (แข่ง 3 วันติด อึดโครต)


เป็งไงประตูทีมวังค้างคาว แข่งจริงมันก็ยังใส่ลงเล่นด้วย แย่งซีนคนอื่นไปหมดเลย


รอบรองเราชนะจุดโทษ และแล้วไอ้เบอร์ 4 มันก็เป็นฮีโรในการยิงจุดโทษคนสุดท้าย


ต้องขอเปลี่ยนตัวเลยเรา โดนเตะหน้าอก ดีที่ไม่โดนปาก ถ้างั้นคงห้อยกว่าเดิม


ได้อันดับสอง แพ้ 1-0 แฮนบอลไม่ยอมเป่า (ทีมเจ้าภาพครับ)


ถ่ายรูปร่วมกับทีมแชมป์หน่อย


สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาอ่านเรื่องบ้าๆ อีกครั้งครับ (คำเตือน : กรุณาอย่าอ่านเกินวันละ 2 รอบ)

รักและคิดถึงทุกคนครับ
บักเอี่ยวโฟกัส
ฅ.ฅนอาสา & ฅ.ฅนปลูกไผ่

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

บันทึก ฅ.ฅนปลูกไผ่ : ฉบับที่ 2

สัมบายดีลำพูนครับ
วันนี้งานไม่เข้าว่างทั้งวัน เลยแอบไปเที่ยวชมงานแปรรูปไม้หลากหลายชนิดที่บ้านถวาย (คงเคยได้ยินบ้างนะครับ) ออกเดินทาง 9 โมงเช้า ระยะทางห่างจากที่พักก็ประมาณ 40 กม. ระหว่างทางก็เจอขบวนแห่ลูกแก้ว (เป็นการแห่นาคที่เป็นเด็ก) ก็ประมาณ 50 นาคได้ ขี่ม้าทั้งหมด ตลกดีม้าทุกตัวจะเต้นรำไปด้วย ตามจังหวะเพลงที่เปิดแห่ไปเรื่อย หลังจากนั้นก็มุ่งสู่หมู่บ้านถวาย ซึ่งระหว่างทางที่เข้าไปหมู่บ้านจะมีร้านที่นำผลงานจากการแปรรูปไม้หลากชนิดมาโชว์กัน มันสุดยอดไปเลยครับเศษไม้ที่เราคิดว่ามันมีค่าแค่ทำฟืน หรือเผาถ่านเพื่อหุงต้มเท่านั้น แต่มันสามารถแปลงเป็นมูลค่าหลักร้อยบาทขึ้นได้ ยิ่งก้าวเข้าไปยิ่งตื่นเต้นมากๆ สำหรับแหล่งโชว์งานฝีมือนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ซอย ตาม Class ซึ่งซอยแรกที่เข้าไป ก็เป็นแบบพื้นฐานสามารถถ่ายรูปได้ แต่ก็มีผลงานที่หลากหลายสุดยอดเหมือนกัน ดังรูปที่แนบมาด้วยครับ



















สำหรับซอยที่ 2 ไม่สามารถนำภาพมาให้ชมได้ เพราะทุกที่เขาติดป้าย No Photo (หน่อ-พอ-โต) ไม่มั่นใจว่าอ่านถูกหรือเปล่า แปลว่าอะไรก็ไม่รู้ จึงเดินเข้าไปถามเจ้าของร้าน จึงถึงบางอ้อว่ามันแปลว่าอะไร มันแปลว่าห้ามถ่ายรูปนี่เอง ถ้ามาครั้งหน้าจะได้เอากล้อง VDO มาถ่ายแทน รอโอกาสหน้าน๊ะครับ แต่ขอบอกว่าซอยนี้ขั้นเทพสุดๆ มีแต่ฝรั่งมาติดต่อซื้อ อนาคตเป็นธุรกิจระดับโลกแน่ๆ ที่เอารูปมาให้ชมนี้มันคนละชั้นกันมากๆ ถ้าไม่เชื่อว่างๆ (+กะตังค์) แล้วมาเดินดู เออเอากล้อง VDO มาด้วยน๊ะ (ถ้าจะดีก็ศึกษากฎหมายมาด้วยก็ดี อิ อิ อิ)

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาอ่านเรื่องบ้าๆ อีกครั้งครับ (คำเตือน : กรุณาอย่าอ่านเกินวันละ 2 รอบ)

รักและคิดถึงทุกคนครับ

บักเอี่ยวโฟกัส
ฅ.ฅนอาสา & ฅ.ฅนปลูกไผ่
2 เมษายน 2553